ฟรีแลนซ์ ห้ามป่วย.. ห้ามพัก.. ห้ามไม่รักการเงิน

        บทความวันนี้ขอเกาะกระแสภาพยนตร์ฟรีแลนซ์กันหน่อยครับ เดี๋ยวนี้คนเก่งๆ มากมายหันมาเป็นฟรีแลนซ์ และสร้างอิสระในการบริหารจัดการชีวิตของตัวเอง แต่ความอิสระนั้นเป็นเหมือนดาบ 2 คม หากบริหารจัดการได้ดี ก็สามารถใช้ชีวิตได้แบบไม่มีลิมิตชีวิตเกินร้อยไม่ยากนัก แต่หากบริหารไม่ดีแล้วหละก็ อาจถึงขั้นทำให้ประสบปัญหาด้านการเงินได้ง่ายๆ เช่นกัน ไม่ว่าเราจะเก่งในสายงานของเรามากขนาดไหนก็ตาม

7-9-2558-2

การเงินก็เป็นมุมที่สำคัญด้า นนึงสำหรับชาวฟรีแลนซ์ที่ควรบริหารจัดการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ“การเงิน 5 ข้อ ที่ทำให้ชีวิตฟรีแลนซ์มั่นคงขึ้น”จะช่วยให้ชีวิตฟรีแลนซ์ของเรามีความมั่งคงทางการเงินในระยะยาว มีอะไรบ้างเราไปดูกันเลยครับ

1. เตรียมเงินสดสำรองให้เพียงพอเผื่อความไม่แน่นอน

จุดนึงที่ต้องระวังเป็นอย่างมากของอาชีพ Freelance ก็คือ >“รายได้ที่เข้ามาไม่แน่นอน” บางช่วงอาจจะเข้ามามากมายติดๆ กัน แต่ในบางจังหวะอาจจะไม่มีรายเข้ามาหลายๆ เดือน ดังนั้นเราต้องกระแสเงินสดมากพอที่จะเอาตัวรอดในช่วงเวลาดังกล่าวให้ได้ วิธีการง่ายๆ ก็คือเราต้องกันเงินส่วนนึงไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือขาดรายได้ >สำหรับอาชีพฟรีแลนซ์นั้นควรสำรองเงินไว้ประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน หมายความว่าหากเราไม่มีรายได้ใดๆ เลย เราสามารถใช้ชีวิตแบบปกติของเราต่อไปได้อีก 6 เดือนนั่นเอง

2. ทำประกันเพื่อสร้างสวัสดิการให้ตัวเอง

ฟรีแลนซ์เป็นอาชีพที่ไม่มีนายจ้าง ทำให้ไม่มีสวัสดิการในเรื่องของการประกันชีวิตและสุขภาพอย่างเช่นมนุษย์เงินเดือน

  • หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นจนทำให้เราเสียชีวิตหรือไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ก็จะไม่มีเงินชดเชยเพื่อให้ครอบครัวที่เราต้องดูแล ยิ่งถ้าเราเป็นคนหารายได้หลัก ก็จะทำให้ครอบครัวประสบปัญหาขาดรายได้ทันที หรือ
  • ในกรณีที่เราเจ็บไข้ได้ป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ก็ไม่สามารถเบิกค่ารักษาได้ ต้องจ่ายเองทั้งหมด หากเป็นเคสที่ค่อนข้างซีเรียส เราอาจจะต้องเสียเงินเกือบทั้งหมดที่เก็บมาจากการทำงานไปได้

“ประกันชีวิตและสุขภาพ” เป็นเครื่องมือที่ดีอันนึงสำหรับการสร้างสวัสดิการให้กับฟรีแลนซ์ การทำประกันนอกจากจะทำเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงให้กับตัวเองแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อคนรอบข้างที่เรารักอีกด้วย >“ประกันให้ตัวเอง เพื่อคนที่เราความรัก” สักนิด หากเรามีคนที่รักที่ต้องดูแล

3. วางแผนภาษีให้ดี มีเงินเหลือมากขึ้น

ภาษีเป็นอะไรที่เรามักไม่ค่อยเข้าใจ ทุกอย่างดูยุ่งยากไปหมดจนไม่อยากจะไปสนใจมัน แค่ทำให้จบๆ ไปจะได้ไม่มีปัญหา

แต่จริงๆ แล้วภาษีเป็นอีกเครื่องมือนึงที่มีประโยชน์มากสำหรับฟรีแลนซ์ เนื่องจากเงินได้สามารถเป็นได้หลายประเภท ทำให้มีความยืดหยุ่นในการหักค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก หากเราวางแผนจัดการกับภาษีดีๆ แล้ว จะทำให้เราเสียภาษีน้อยที่สุดตามหลักของกฎหมายและประหยัดเงินของเราได้ไม่น้อยทีเดียว

4. ลงทุนให้เป็นเพิ่มความมั่งคั่ง

เมื่อเรามีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้เพียงพอ และทำประกันคุ้มครองความเสี่ยงของตัวเองแล้ว เงินที่ส่วนที่เหลือหละ เราควรเอา

ไปทำอะไรดี หลายคนจะมาตันตรงนี้ เพราะว่าไม่รู้ว่าต้องทำอะไรต่อหรือบางคนรู้แต่อาจจะไม่มีเวลามากพอที่จะไปจัดการกับมัน แค่งานตัวเองก็จะตายอยู่แล้ว แต่ไม่ว่าจะกรณีไหนฟรีแลนซ์ทุกคนควรจัดการเงินส่วนนี้ เพื่อต่อยอดความมั่งคั่งของตัวเองในอนาคต ซึ่งวิธีการที่เหมาะสมก็คือ การลงทุนนั่นเอง

ในทุกอาชีพต่อให้เก่งแค่ไหน ก็ยังต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้งานออกมาดี เงินของเราก็เช่นกัน ต่อให้เราหาเงินเก่งมากแค่ไหน เราก็ควรมีเครื่องมือช่วยให้บริหารเงินของเราให้งอกเงยมากยิ่งขึ้น โดยที่เราเหนื่อยน้อยลง ดังนั้นการลงทุนจึงมีความสำคัญมาก นอกจากช่วยไม่ให้มูลค่าเงินของเราลดลงไปแล้ว ยังสามารถเพิ่มมูลค่าเงินให้เราอีกด้วย

หากเรารับความเสี่ยงได้น้อย เราก็ลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อย เช่น ตราสารหนี้” ในสัดส่วนที่มาก หากรับความเสี่ยงได้มาก ก็ลงทุนใน หุ้น” ให้มากหน่อย หรือหากไม่มีความรู้ก็ไปลงทุนในกองทุนรวม” เพื่อให้คนที่เก่งๆ ทำหน้าที่แทนเรา

5. วางแผนเกษียณให้ตัวเองเพื่อหยุดทำงาน

สุดท้ายสิ่งที่เราควรคิดถึงก็คือ การเกษียณ” ไม่มีใครสามารถทำงานหนักตลอดไปได้จนวันตายได้ ทุกคนต้องมีวันที่หยุดทำงาน และเมื่อนั้นเราก็จะไม่มีรายได้ แต่เรายังต้องมีรายจ่าย ดังนั้นในวันที่เรายังมีแรงทำงานหาเงินได้ เราควรคิดเรื่องวางแผนเกษียณให้กับตัวเองด้วย เมื่อถึงเวลาเกษียณ เราจะได้มีเงินใช้จ่ายอย่างไม่ลำบาก การเก็บเงินเกษียณที่ง่ายที่สุดสำหรับฟรีแลนซ์ก็คือ การซื้อ RMFแบ่งเงินออกมาซื้ออย่างสม่ำเสมอทุกปีๆ แค่นี้ก็มีเงินใช้ยามเกษียณได้ไม่ยากแล้วครับ

ถึงแม้งานฟรีแลนซ์จะหนักและเหนื่อยมาก จนบางครั้งแทบไม่มีเวลาทำอย่างอื่นเลย แต่นักฟรีแลนซ์ทั้งหลายก็ควรจะแบ่งเวลามาบริหารการเงินกันบ้างนะครับ เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเราเอง ให้คุ้มค่ากับการทำงานที่เหนื่อยแสนเหนื่อย

 

ที่มา : wealthguruconsulting.com

 

 

แชร์ให้เพื่อน